ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีสารทเดือนสิบ



ประวัติ / ความเป็นมา
    งานเทศกาลสารทเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประเพณีจัดสืบเนื่องกันมาแต่โบราณถือเป็นประเพณีทำบุญเกี่ยวเนื่อง กับความเชื่อในศาสนาพุทธ และเป็นงานเทศกาลประจำปีที่สำคัญ ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มจัดงานครั้งแรก เมื่อ พ.. 2466 ที่วัดพระมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายหลังจึงถือปฏิบัติสืบเนื่องมาเป็นประจำทุกปี จนปัจจุบัน กล่าวได้ว่า กลายเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่ง ทั้งความสำคัญและความยิ่งใหญ่ ของการจัดงานทำให้งานนี้เป็นที่รู้จักกันดีทั่วไป ในภาคใต้ รวมทั้งภาคอื่นๆ ของประเทศด้วย

วิวัฒนาการงานประเพณีสารทเดือนสิบ
จังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ

    1.
ประเพณีงานเทศกาลเดือนสิบ ก่อนการจัดงานอย่างเป็นทางการ (ก่อน พ.. 2466)งานบุญสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของชาวนครศรีธรรมราชแต่ครั้งโบราณ เช่นเดียวกับที่พบตามภาคต่างๆ ของประเทศ งานบุญสารทเดือนสิบ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลัทธิพราหมณ์ แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มเมื่อใด
คำว่า “สารท” เป็นภาษาบาลีแปลว่า ฤดูอับลม หรือฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า “ศารท” ฤดูสารท หรือฤดูศารท ตรงกับเดือน 11 และเดือน 12 แต่การทำบุญวันสารทของไทยอยู่ในราวปลายเดือน 1 อาจเป็นเพราะการนับเดือนสมัยโบราณ เริ่มนับจากข้างแรม ถ้านับเริ่มจากเดือน 5 ปลายเดือน 10 จะเป็นวันครอบครึ่งปี ดังนั้น คำว่า “สารท” ตามคติไทยอาจถือเป็นวันทำบุญครบครึ่งปีก็ได้
    2. ประเพณีงานเทศกาลเดือนสิบ ตั้งแต่เริ่มจัดงานเป็นทางการเมื่อ พ.. 2466.. 2466 ทางราชการประสงค์จะสร้างอาคารหลังใหม่แทนอาคารศรีธรรมราชสโมสรซึ่งชำรุดทรุดโทรม จึงจัดงานเทศกาลเดือนสิบเพื่อหารายได้ เนื่องจากได้ความคิดจากการจัดงานวันวิสาขบูชา เพื่อหารายได้ซ่อมแซมพระวิหารในวัดมหาธาตุ ใน พ.. 2465)จึงได้เริ่มจัดงานเดือนสิบเป็นครั้งแรก ที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช ใน พ.. 2466 นี้ และนับแต่นั้นก็ได้มีการจัดต่อเนื่องกันมาโดยตลอด เพื่อหารายได้จากการจัดงาน ไปใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ต่างๆ 

กำหนดงาน
    วันแรม 13-15 ค่ำ เดือนสิบของทุกปี ประมาณเดือนกันยายน สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ 


กิจกรรม / พิธี
    วันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 ชาวเมืองนครศรีธรรมราช จะเตรียมซื้อข้าวของ ทั้งอาหาร ผลไม้ ขนม เพื่อเตรียมสำรับ (ชาวเมืองนครฯ เรียก “หมรับ”) ประเคนถวายแด่พระภิกษุ นอกจากนี้จะซื้อของเล่นต่างๆ อาทิ ตุ๊กตา เตรียมแจกแก่เด็กเล็ก ลูกหลาน
    วันแรก 14 ค่ำ เรียกวันยก หมรับ ผู้คนจะนำหมรับ และอาหาร ไปวัดถวายพระสงฆ์มีการจัดขบวนแห่ มีดนตรีนำหน้าขบวน นอกจากนี้มีการนำอาหารและขนมเดือนสิบ ตามประเพณีโบราณ รวมทั้งเงินหรือเหรียญสตางค์ไปวางตามที่ต่างๆ เช่น ริมกำแพงวัด. โคนต้นไม้ เพื่อแผ่ส่วนกุศล อุทิศแก่ผู้ล่วงลับที่ปราศจากญาติ หรือญาติที่ไม่ได้มาร่วมทำบุญในวันนี้ เรียกว่า “ตั้งเปรต” หรือ “หลาเปร” (ศาลาเปรตหลังจากตั้งเปรตแล้ว เริ่มพิธีกรรมสงฆ์ พระสงฆ์จะสวดบังสุกุลเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับ จากนั้นชาวบ้านที่ยากจนหรือเด็กๆ จะวิ่งเข้าไปแย่งขนม อาหาร ที่ตั้งเปรต บ้างก็ถือว่าได้บุญบ้างถือเป็นเรื่องสนุก เรียกว่า “การชิงเปรต”
    วันแรม 15 ค่ำ เป็นวันสารท ประชาชนจะนำอาหารไปถวายพระสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำบุญฉลอง ห..รับ ที่จัดไป วันนี้เรียกว่า “วันหลองห..รับ” (วันฉลองห..รับ) ถือว่าเป็นวันห..รับ ใหญ่
    กิจกรรมที่กระทำในวันนี้ มีการทำบุญเลี้ยงพระและบังสุกุล เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้องและผู้อื่นที่ล่วงลับแล้ว การทำบุญวันนี้ ถือเป็นการทำบุญสำคัญ เพราะถือว่าเป็นวันส่งญาติพี่น้องและผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญวันนี้ ถือเป็นการทำบุญสำคัญ เพราะถือว่าเป็นวันส่งญาติพี่น้องและผู้ล่วงลับไปแล้วกลับสู่เมืองนรก ชาวบ้านเรียกวันนี้ว่า “วันส่งตายาย” การทำบุญวันนี้เพ่อบรรพบุรุษ จะไม่อดอยากหิวโหยเมื่อกลับสู่นรก ถ้าลูกหลานไม่ทำบุญในวันส่งตายายนี้จะถูกถือว่าเป็นคนอกตัญญู
    สำหรับหมรับ ที่ชาวบ้านทั่วไปจัดไปถวายพระ ตามประเพณีดั้งเดิมสมัยก่อนการจัดหมรับ นิยมใช้กระบุงทรงเตี้ย สานด้วยตอกไม้ไผ่ ขนาดเล็กหรือใหญ่ตามความต้องการของผู้จัด แต่ปัจจุบันใช้ภาชนะจัดตามความสะดวก เช่น ถาด กระจาด กะละมัง ถัง ในหมรับ จะจัดเรียงอาหารคาวหวาน ผัก ผลไม้ ต่างๆ โดยใส่ข้าวสารรองกระบุง จากนั้นใส่หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล บรรดาเครื่องปรุงรสที่จำเป็นจนครบ ต่อไปใส่พวกอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ผักผลไม้ สำหรับประกอบอาหารคาวหวานที่เก็บไว้ได้นาน เช่น มะพร้าว ฟัก มัน กล้วยดิบ อ้อย ข่า ตะไคร้ ขมิ้น และพืชผลตามฤดูกาลขณะนั้นนอกจากนี้ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไต้ ไม้ขีด หม้อ กระทะ ด้าย เข็ม ถ้วยชาม ฯลฯ
    ถัดขึ้นมาเป็นขนมหวาน 5 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานบุญเดือนสิบ คือ 

1.
ขนมพอง ป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ตามคติทางพุทธศาสนา
2.
ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
3.
ขนมกง(ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
4.
ขนมดีซำเป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ย สำหรับใช้สอย
5.
ขนมบ้าเป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับญาติผู้ตายใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
แต่บางคนมีขนมลาลอยมันเพิ่มอีก 1 ชนิด รวมเป็น 6 ชนิด โดยขนมลาลอยมัน เป็นสัญลักษณ์แทนฟูก หมอน ขนมเหล่านี้เป็นขนมที่เก็บไว้ได้นาน เหมาะใช้เป็นเสบียงเลี้ยงพระสงฆ์ไปได้ตลอดฤดูฝน
นอกจากอาหารคาวหวาน และเครื่องใช้สอยที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน มีของเล่นพื้นเมืองต่างๆ ซึ่งต้องพิจารณาให้ถูกกับนิสัยความชอบของบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับของตนด้วย เช่นตุ๊กตารูปม้า ไก่ นก ปลา ทำด้วยกระดาษ ใบลาน ไม้ระกำ หรือรูปละครรำ หนังตะลุง




วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Open Source

ซอฟต์แวร์ Open Source ต่างกับซอฟต์แวร์อื่นอย่างไร?
    * โดยทั่วไปรูปแบบของไลเซนต์ และการแจกจ่ายซอฟต์แวร์มีหลายรูปแบบ โดยสามารถจำแนกได้ตามเกณฑ์ 2 ด้าน คือ
         1. การให้พร้อมซอร์สโค้ด
         2. การคิดค่าใช้จ่าย 

    * ซอร์สโค้ด หมายถึง รหัสซอฟต์แวร์ต้นฉบับที่เขียนโดยภาษาระดับสูง ซึ่งแตกต่างจากไบนารีโค้ด เพราะซอฟต์แวร์ Open Source เปิดเผยโครงสร้าง และลอจิกของโปรแกรม
    * ซอฟต์แวร์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ดอย่างเดียว เรียกว่า ซอฟต์แวร์ปิด (closed source) 


ไลเซนต์ Open Source ต่างกับไลเซนต์อื่นอย่างไร?
คำว่า "Open Source" หรือ "Free Software" ไม่เพียงพอสำหรับอธิบายไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปส่วนที่สำคัญของลิขสิทธิ์ (Copyright) จะอธิบายเกี่ยวกับสิทธิ์ในการทำสำเนา การแจกจ่าย และการดัดแปลง

สำหรับไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สจะเน้นใน 2 ประเด็น คือ 

           1. การยกเลิกค่าไลเซนต์ซอฟต์แวร์
           2. การให้ซอร์สโค้ดมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ 

        * สิ่งที่ทำให้ไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สแตกต่างจากไลเซนต์อื่นๆ ก็คือ หลักการของ "Copyleft" โดย Copyleft จะมีข้อจำกัดอยู่ว่า ถ้ามีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มเติมจากต้นฉบับ แล้วซอฟต์แวร์ตัวใหม่ต้องใช้ไลเซนต์เดียวกับต้นฉบับด้วย
        * ไลเซนต์ Copyleft ที่สำคัญของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ก็คือ GPL 

Public Domain
          การกำหนดไลเซนต์เป็น "Public Domain" หมายถึง การยกเลิกลิขสิทธิ์ หรือ "Copyright" 

          o นิยามของ Public Domain อาจจะใช้ได้กับบางประเทศ เช่น อเมริกา แต่สำหรับบางประเทศเช่น เยอรมันจะใช้ไม่ได้ เพราะว่าจะไปขัดกับ German right
          o ในอเมริกาส่วนใหญ่จะใช้ไลเซนต์นี้กับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่ทางรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน ผู้ใช้ในอเมริกาจะสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ และอนุญาตให้นำไปทำเป็น Commercial Domain ได้ด้วย 

Shareware
          จุดมุ่งหมายของ Shareware ก็คือ ความพยายามที่จะให้มีการนำเอาซอฟต์แวร์ไปใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Shareware จะให้เฉพาะไบนารีโค้ด และให้ใช้ซอฟต์เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เมื่อหมดเวลาทดลองใช้แล้ว ถ้าต้องการใช้ต่อก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย 

Freeware
          เป็นไลเซนต์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ดโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมในการใช้งาน และเป็นไปได้ที่จะอนุญาตให้เฉพาะส่วนตัว หรือที่ไม่ใช้ในทางธุรกิจ ส่วนใหญ่บริษัทจะใช้ Freeware ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์รอบๆ ข้าง เช่น ไมโครซอฟต์มี Internet Exploror เป็น Freeware เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการครองตลาด เป็นต้น 

       ตัวอย่าง Freeware ที่ Open Directory Project 

GNU Public License (GPL)
    ผู้คิดค้นไลเซนต์ GPL คือ Richard Stallman ซึ่งอธิบายปรัญญาใน Free Software Foundation ไว้ว่า 

GPL ไม่มีข้อจำกัดในการทำสำเนา และการแจกจ่าย 

          ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนใหญ่จะใช้ไลเซนต์แบบ GPL ที่เด่นๆ ก็คือ ซอฟต์แวร์ในโครงการ GNU และระบบปฏิบัติการ Linux 

              o ผู้ใช้จะต้องสามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้ง่าย ตัวไลเซนต์เองต้องนำไปใส่ไว้ในโปรแกรมด้วย
              o จะต้องแสดงไลเซนต์ซอฟต์แวร์ขึ้นมาเมื่อเริ่มโปรแกรม
              o จะอนุญาตให้แก้ไขซอฟต์แวร์ได้ ก็ต่อเมื่อมีการระบุว่าใครได้แก้ไขอะไร เมื่อไร
              o อนุญาตให้สร้างโปรแกรมใหม่จากการแก้ไขซอฟต๋์แวร์ต้นฉบับ แต่มีเงื่อนไขว่าโปรแกรมจะต้องมีไลเซนต์แบบ GPL เท่านั้น ("Copyleft") 

                  o จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Viral" effect เพราะว่าซอฟต์แวร์ที่รวมเอาซอฟต์แวร์ที่มีไลเซนต์เข้าไว้ด้วยกันต้องอยู่ภายใต้ไลเซนต์ที่คล้ายกับ GPL ไปด้วย 

              o ไลเซนต์แบบ "Copyleft" ไม่เหมาะกับการนำไปใช้ในทางธุรกิจ เพราะบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดของตัวเองด้วย ถ้าใช้ซอฟต์แวร์บางส่วนที่เป็น GPLในการพัฒนาซอฟต์แวร์ 

GNU Lesser General Public License (LGPL) 
      เนื่องจากไลเซนต์แบบ GPL ค่อนข้างมีข้อจำักัดในการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ องค์กรอิสระ Free Software Foundation (FSF) จึงได้พัฒนาไลเซนต์ LGPL 

     * LGPL อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ธุรกิจสามารถใช้ซอฟต์แวร์ไลบรารี โดยไม่มีข้อจำกัดเหมือนไลเซนต์แบบ GPL ซอฟต์แวร์ตัวแรกที่ใช้ไลเซนต์ LGPL คือ GNU C Library 



ขอบคุณ Thaiopensource.org